เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกฟิสิกส์ รหัสนิสิต 51102010787

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

กระบวนการจัดการความรู้

     7 ขั้นตอนสำหรับการจัดการความรู้
        เป็นกระบนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้ 

       การบ่งชี้ความรู้  เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง  อยู่ในรูปแบบใด  อยู่ที่ใคร โดยพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์  พันธกิจ  ยุทธศาสตร์  เป้าหมายคืออะไร
     
      การสร้างและแสวงหาความรู้  ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น  การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก  รักษาความรู้เก่า  กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้

      การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อก่ารเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต

     การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่น  การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน  ใช้ภาษาเดียวกัน  และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม

    การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก  โดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board

   การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้  ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่
Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร  ฐานความรู้  และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ   หรือ
Tacit Knowledge   จัดทะเป็นระบบทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม   ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง  การสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้  เป็นต้น

   การเรียนรู้   ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น  การเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้  การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น