เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ วิชาเอกฟิสิกส์ รหัสนิสิต 51102010787

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของความรู้

     ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท  คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และ ความรู้แฝงเร้นหรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)  ซึ่ง


      ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย  จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฎี  สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้  เช่น  นโยบายขององค์กร  กระบวนการทำงาน  ซอฟแวร์  เอกสาร  และกลยุทธ์  เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
      ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้    มีรากฐาน
มาจากการกระทำและประสบการณ์  มีลักษณะเป็นความเชื่อ  ทักษะ และอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล  มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก  เช่น  วิจารณญาน  ความลับทางการค้า  วัฒนธรรมองค์กร  ทักษะ
ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ  การเรียนรู้ขององค์กร  ความสามารถในการชิมรสไวน์  หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในการผลิตหรือไม่
     ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไหร่  การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แนบเหนียว(Sticky Knowledge )  หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge ) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย  จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky  Knowledge ) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองปประเภทนี้เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้  ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  (Mutually Constituted) (Tsoukas,1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น